16 กันยายน 2563

Covid-19 ไวรัสโคณนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19


องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น
"การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลก
ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ของสหรัฐฯ ระบุว่า เข้าเดือนที่ 7 การระบาดใหญ่ที่เริ่มจากจีน ทำให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกแล้วกว่า 26 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตกว่า 8 แสนราย ใน 188ประเทศเขตเศรษฐกิจ และ ดินแดน ทั่วโลก



ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่คืออะไร

โลกได้รับรู้เรื่องโรคติดต่อปริศนา หลังจากทางการจีนยืนยันเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 ว่าเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรกว่า 11 ล้านคน

โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนา"

ก่อนหน้านี้ พบไวรัสโคโรนามาแล้ว 6 สายพันธุ์ ที่เคยเกิดการระบาดในมนุษย์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7

คนไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน โดยพบการระบาดครั้งแรกปลายปี 2002 เริ่มจากพื้นที่มณฑลกวางตุ้งของจีน ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในหลายประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 800 คนทั่วโลก  องค์การอนามัยโลก ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า "โควิด-ไนน์ทีน" (Covid-19)

ขณะที่คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยาของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค Covid-19 ว่า SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 ) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส



ที่มาของโรค

ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบชัดเจนถึงแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ก่อนหน้านี้มีการสันนิษฐานว่า ไวรัสชนิดนี้อาจเริ่มติดต่อจากสัตว์ป่ามาสู่คน โดยมีต้นตอของการแพร่ระบาดจากงูเห่าจีน (Chinese cobra) และงูสามเหลี่ยมจีน (Chinese krait) ที่นำมาวางจำหน่ายในตลาดสดเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นสถานที่พบผู้ติดเชื้อกลุ่มแรก ๆทีมผู้วิจัยสันนิษฐานว่า งูอาจเป็นสัตว์ตัวกลางที่ส่งต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาสู่คน เนื่องจากงูพิษที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติล่าค้างคาวในถ้ำเป็นอาหาร แต่ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่า ไวรัสโคโรนาสามารถปรับตัวให้อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ในร่างกายของทั้งสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลือดอุ่นได้อย่างไรล่าสุด นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ตัวนิ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ชาวจีนเชื้อว่ามีสรรพคุณตามตำรายาแผนโบราณนั้น อาจเป็นพาหนะนำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาแพร่สู่คนที่ตลาดค้าสัตว์ป่าเมืองอู่ฮั่นนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวนิ่มซึ่งใช้ลิ้นตวัดกินมดและแมลงตามพื้นดินนั้นอาจได้รับเชื้อจากการสูดหายใจมูลค้างคาวที่ตกอยู่ตามพื้นดินเข้าไป


อาการ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเริ่มแรกคือ มีไข้ ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว

ขณะที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า หากผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงการระบาดของโรคมีอาการไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที


ความรุนแรงของโรค

ปัจจุบันนักวิจัยประเมินว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 1,000 คน มีผู้เสียชีวิต ราว 5-40 คน หากจะระบุตัวเลขคาดการณ์ที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกก็คือ 9 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน หรือเกือบ 1%

ขณะที่นายแมตต์ ฮานค็อก รัฐมนตรีสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ระบุเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า "การประเมินที่ดีที่สุด" ของรัฐบาลคือ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ "2% หรือ น่าจะต่ำกว่านั้น"

แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของอายุ เพศ สุขภาพโดยทั่วไป และระบบสาธารณสุขที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการผลการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ 56,000 คน ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก บ่งชี้ว่า ผู้ได้รับเชื้อ 4 ใน 5 คน จะมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดย :

  • 80% มีอาการไม่รุนแรง
  • 14% มีอาการรุนแรง
  • 6% มีอาการวิกฤต

ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่ 1-2%


เรามีความเสี่ยงแค่ไหน

ถ้าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กลุ่มคนที่มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และอาจจะรวมถึงผู้ชายด้วยการวิเคราะห์ขนาดใหญ่ครั้งแรกในผู้ติดเชื้อมากกว่า 44,000 ในประเทศจีน พบว่า อัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุสูงกว่าคนวัยกลางคนถึง 10 เท่าอัตราการเสียชีวิตในคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี ต่ำที่สุด โดยมีผู้เสียชีวิต 8 คนในจำนวนผู้ติดเชื้อ 4,500 คนผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือปัญหาในการหายใจ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนปกติอย่างน้อย 5 เท่าและผู้ชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย


เราจะป้องกันตัวได้อย่างไร

ปัจจุบันยังไม่ทราบชัดเจนว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้อย่างไร แต่เชื้อไวรัสชนิดคล้ายกันแพร่ผ่านทางละอองของเหลวที่ออกมาจากการไอและจาม

คำแนะนำที่ดีที่สุดจาก องค์การอนามัยโลกคือ เราสามารถป้องกันตัวเองจากไวรัสที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจทุกชนิดได้ด้วยการล้างมือ เลี่ยงการเข้าใกล้คนที่ไอหรือจาม และพยายามอย่าสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูก และปาก











5G 6G ต่างกันยังไง

หลายคนคงตาเบิกโพลงและถามด้วยเสียงสองว่า “บ้าเหรอ? 5G ยังไม่ได้ใช้เลย 6G คืออะไรกัน?”


แต่นั้นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เมื่อ 5G กำลังจะถูกทยอยนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เหล่าวิศวกรทั้งหลายก็หันมาให้ความสนใจกับขั้นต่อไปของเทคโนโลยีว่าจะออกมาในรูปแบบไหน

คงเป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทั้งการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและมนุษย์กับโลกทั้งใบ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของยุคสมัยศตวรรษที่ 21

โดยเจ้าเทคโนโลยีล่าสุด 5G (ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 5) นั้น ทั่วโลกเริ่มมีการทดสอบและลองใช้กันบ้างแล้ว (ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้) ซึ่งก็นำมาสู่คำถามที่ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรอีก? 6G จะเป็นแบบไหนกัน? แตกต่างกันยังไง? มีอะไรที่สามารถทำเพิ่มขึ้นมาได้บ้างจาก 5G? 

คำตอบอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบางอย่างที่พอเป็นเค้าลางให้เห็นว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ต้องขอบคุณผลงานของ Razvan-Andrei Stoica และ Giuseppe Abreu ที่มหาวิทยาลัย Jacobs University Bremen ประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนได้นำเอาข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI 

ก่อนอื่นต้องปูทางเกี่ยวกับ 5G สักหน่อย อย่างแรกเลยที่ต้องบอกก็คือว่า 5G นั้นพัฒนามาไกลกว่ามาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นอย่างมาก อย่างแรกคือเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า 4G อย่างที่เรียกว่าเทียบกันไม่เห็นฝุ่น โดย 5G จะมีความเร็วประมาณ 20Gbps เทียบกับ 4G แล้วจะเร็วกว่า 100-200 เท่า! (4G อยู่ที่ 10-20 Mbps) ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาพยนตร์ HD สักเรื่องบน 4G ถ้าไปอยู่บน 5G ก็จะดูหนังแบบ 8K ได้ประมาณ 400 เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั้นอาจจะฟังดูน่าทึ่งแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่จบเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ 5G นั้นน่าสนใจอีกอย่างคือ Low Latency Rate หรือความไวในการตอบสนองของข้อมูล สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G เฉลี่ยใช้งานจริงจะอยู่ราว 100-200ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 100 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎีสมมติว่าตอนนี้เราใช้เครือข่าย 5G บนสมาร์ตโฟนอยู่ อย่างแรกที่เราจะเห็นได้ชัดๆ เลยคือเรื่องความเร็วที่จะมาช่วยเพื่มอรรถรสในการเสพมีเดียแบบความคมชัดสูง Netflix หรือ YouTube กดเล่นปุ๊บจะไม่มีวงกลมหมุนๆ ที่ต้องรอคอยอีกต่อไป ทุกอย่างจะเป็น HD ทั้งภาพและเสียง สำหรับเหล่าเกมเมอร์สามารถนั่งเล่นเกมส์ออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับผู้เล่นมากมายบนโลกใบนี้ด้วย VR Headset หรือ Smartphone แบบ Real-time ไม่มีการกระตุก ไม่มีหน่วง

นอกจากเรื่องความบันเทิงแล้วก็ยังมีเรื่องอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตทั้งหลายที่จะได้ประโยชน์ ลองคิดถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ในการทำการผ่าตัด อุปกรณ์เหล่านี้สามารถถูกควบคุมโดยนายแพทย์อันดับหนึ่งของโลกจากบ้านของตัวเองในอเมริกา โดยมีผู้ช่วยที่กำลังเดินทางอยู่เมืองไทย และการผ่าตัดเกิดขึ้นที่แอฟริกา หรือแม้กระทั่งการทำการเกษตรแบบระบบอัตโนมัติ โดรนที่คอยตรวจตราอยู่บนอากาศคอยพ่นปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช หุ่นยนต์บนพื้นดินคอยเก็บตัวอย่างดินและปุ๋ยไปวิเคราะห์ หุ่นยนต์ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อถึงเวลา นี่คือเรื่องของความเป็นความตายและเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาช่วยทำให้ชีวิตของคนบนโลกนี้ดีขึ้น

อีกประเด็นหนึ่งที่คนมักลืมพูดถึงกันเพราะไปจดจ่อเพียงแค่ความเร็วก็คือเรื่องการรองรับผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม เพราะ 5G นั้นมีเสาสัญญาณขนาดเล็ก เนื่องจากมีคลื่นความถี่ที่สั้นกว่า 4G จึงทำให้ต้องมีเสาสัญญาณติดอยู่ทั่วบริเวณ (5G ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Millimeter Waves ที่ความถี่สูงและความยาวคลื่นสั้นกว่า 4G ซึ่งปัญหาใหญ่ของมันก็คือมันส่งสัญญาณไปไม่ได้ไกลเท่าไหร่ ในคลื่นของ 4G เราอาจจะห่างจากเสาสัญญาณได้ไกลเกือบ 10 กิโลเมตร ส่วน 5G ไกลสุดได้แค่ประมาณ 300 เมตรเท่านั้น แถมยังผ่านผนังไม่ได้และถ้าอากาศไม่ดีฝนตกก็สัญญาณหายได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นทางแก้ไขปัญหานี้ก็คือการสร้างจุดรับส่งสัญญาณขนาดเล็กที่มีเต็มไปหมดทุกแห่งในพื้นที่) โดยการมีจุดรับส่งสัญญาณมากมายแบบนี้นำมาซึ่งประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ 5G ก็คือสามารถรองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้นในขนาดพื้นที่เดียวกัน เมื่อเทียบกับ 4G เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในกรณีที่คนมารวมตัวกันเยอะๆ อย่างงานแข่งขันกีฬาระดับโลก การประชุมขนาดใหญ่ ฯลฯ และนำไปสู่การใช้งานในหลายรูปแบบของอุปกรณ์ Internet of things (IoT) อีกด้วยแต่ข้อมูลอะไรที่กันที่จะสามารถได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนี้ จากคำอธิบายของ Stocia และ Abreu พวกเขาบอกว่ามันจะทำให้เหล่า AI นั้นเชื่อมโยงหากันและช่วยกันแก้ไขปัญหาระดับที่ซับซ้อนในทันที ยกตัวอย่างเช่นการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับในเมืองขนาดใหญ่ที่ต้องมีการเชื่อมโยงกันและส่งต่อข้อมูลถึงกันอย่างมหาศาลระหว่างสมองกลที่เกี่ยวข้องในวินาทีนั้น คิดถึงรถยนต์จำนวนเกือบสามล้านคันที่เข้าออกเมืองหลวงอย่างนิวยอร์กทุกวัน นี่จะเป็นปัญหาที่ได้รับการแก้ไขโดยสมองกลที่สื่อสารกันตลอดทุกวินาที

รถยนต์ไร้คนขับคันหนึ่งที่ถูกขับเคลื่อนด้วย AI จะคอยส่งรับส่งสัญญาณจากสิ่งรอบข้างและตอบสนองตามความจำเป็น ตำแหน่งที่ตั้งของรถยนต์จะถูกส่งออกไปสู่พื้นที่โดยรอบ เสาไฟฟ้า พื้นถนน ไฟจราจร ทุกอย่างจะมี AI อยู่ในนั้นเพื่อคอยถ่ายทอดข้อมูลถึงกัน รถจักรยานที่ปั่นบนถนน มอเตอร์ไซค์ ปลอกคอน้องหมา นาฬิกาข้อมือของคนวิ่งออกกำลังกาย ฯลฯ AI เหล่านี้จะคอยบอกว่าให้ระวังอะไร เลี้ยวไปทางไหน ต้องเลี่ยงเส้นทางไหนเพื่อจะให้ถึงปลายทางเร็วที่สุด

สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้พลังในการคำนวณอย่างหนักหน่วง สมองกลในรถยนต์แต่ละคันต้องสร้างเครือข่ายกับสิ่งต่างๆ โดยรอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อผ่านจุดหนึ่งไปก็ต้องไปสร้างเครือข่ายใหม่เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเป้าหมาย 

Stoica และ Abreu กล่าวว่า

“การที่จะแก้ไขปัญหาที่กระจายตัวในการเชื่อมโยงกัน การสื่อสารด้วยข้อมูลจำนวนมากจะเป็นสิ่งจำเป็น ปริมาณของข้อมูลขนาดใหญ่และความรวดเร็วในการตอบสนองที่มากกว่า 5G จะขาดไม่ได้เลย”

แน่นอนว่านี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยที่ 6G น่าจะเป็นประโยชน์และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม มีความท้าทายอีกหลายอย่างที่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกันอย่างเช่น การตรวจสอบตลาดและวางแผนการเงิน การตรวจเช็คข้อมูลสุขภาพของคนไข้ การตอบสนองและคาดเดาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบ real-time ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความก้าวหน้าที่ไม่เคยมีใครคาดเดาว่าจะสามารถทำได้มาก่อน

แต่กว่าจะถึงตอนนั้น (น่าจะสักช่วง 2030 เพราะแต่ละ generation ใช้เวลาประมาณ 10 ปี) ยังมีอะไรอีกมากมายที่จะต้องเกิดขึ้น 6G ยังคงห่างไกลและภาพยังเลือนลาง คงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าทุกอย่างจะลงตัวและสรุปออกมาให้ทุกคนได้รับรู้ แต่ถ้า Stoica และ Abreu เกิดคาดการณ์ถูกต้องขึ้นมา สมองกลจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาโลกของเราต่อไปข้างหน้า เทคโนโลยี AI จะเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังและกำหนดทิศทางของสิ่งอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมถึง 6G ด้วย

 


26 สิงหาคม 2563

วิทยาการข้อมูล(data science)

 วิทยาการข้อมูล(data science)

1 วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ
วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคตโดยหลักการแล้ว Data Science ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ Hacking Skill (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies)  Statistic & Math (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์)  Substantive Expertise (หรือ Domain Knowledge)  Presentation (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ Visualization 


Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง

2 ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science 
- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้
- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น
คนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล จะนำข้อมูลที่กระจัดกระจายจากแหล่งต่างๆ มาจัดการและวิเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ตามโจทย์หรือวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น สร้าง Predictive Model หรือระบบอัลกอริทึมขึ้นมาประมวลผล เพื่อค้นหาอินไซต์เกี่ยวกับผู้ใช้งาน (user) หรือเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจขององค์กรบริษัท เป็นต้น และนี่คือผลลัพธ์ที่จะได้จาก Data Science

3 ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) 
ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย  DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 โดยทั้งคู่เป็น ผู้บุกเบิกการสร้างทีม Data Science ที่ LinkedIn และ Facebook และตอนนี้ DJ Patil ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Data Scientist of the United States ไปเรียบร้อย

ในปี 2012 วารสาร Harward Business Review  ตีพิมพ์บทความชื่อ Data Scientist: The Sexiest Job of the 21st Century ทำให้อาชีพนี้กลายเป็น Talk of the town ในวงการธุรกิจและวงการสื่อตั้งแต่นั้นมา และทำให้เกิดความต้องการจ้างงานจากวงการธุรกิจสูง จนขาดแคลนบุคคลากรทางด้านนี้เป็นอย่างมาก ถือเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในวงการธุรกิจ โดยที่ยังไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจริงจัง

4 ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมี 
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ต้องมี ทักษะความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือมีองค์ความรู้ในหลากหลายด้าน เช่น ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์และสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล ความเข้าใจทางธุรกิจ ความอยากรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge) สรุปคือ 
1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)

การจะหาคนที่เป็น Data Scientist หรือคนเดียวที่เก่งทุกอย่างแบบเต็มตัว ไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำงานเป็น ทีม Data Science ที่ประกอบด้วยคนที่เก่งแต่ละด้านมาอยู่ในทีมเดียวกัน

5 อยากเป็น Data Scientist ควรเรียนอะไร?  
" ยุคนี้กำลังเปลี่ยนเร็วมาก การแข่งขันจะรุนแรงมากในเรื่องของข้อมูล ผู้แพ้ผู้ชนะจะไม่ได้ถูกตัดสินด้วยขนาดอีกต่อไป แต่จะตัดสินด้วยความสามารถในการใช้ข้อมูล "  ผศ. ดร. ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แม้ว่าสถาบันการศึกษาในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรหรือคณะสาขาที่เกี่ยวกับ Data Science โดยตรง แต่คณะและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง อย่างเช่น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหลายๆ มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของศาสตร์นี้ จนเปิดเป็นรายวิชาเลือกขึ้นมาเพื่อให้น้องๆ นักศึกษาที่สนใจได้เลือกเรียนทางด้านนี้เพิ่มเติมจากสาขาหลัก
สำหรับน้องๆ ที่สนใจและตั้งใจอยากทำงานด้านนี้โดยตรง สามารถเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในคณะหรือสาขาที่ช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจการจัดการข้อมูลได้หลากหลาย เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ และคณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นน้องๆ สามารถเลือกฝึกประสบการณ์ทางด้าน Data Science เพิ่มเติมได้เอง รวมทั้งการเรียนต่อระดับปริญญาโทสาขานี้โดยตรงที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศก็ยิ่งได้เปรียบ

6 Data Science กับอนาคตในตลาดงานประเทศไทย
แม้ว่า การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลกบอกว่า จะมีตำแหน่งงานด้านนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4.4 ล้านอัตราทั่วโลกภายในปี 2558 แต่จะมีบุคลากรที่พร้อมสำหรับตำแหน่งงานดังกล่าวเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น แต่คำถามที่น้องๆ ทุกคนที่สนใจงานนี้รอคอยกันอยู่ก็คือ เรียนจบด้านนี้มาแล้วจะมีงานรองรับในเมืองไทยมากน้อยแค่ไหน? เรานำบทสัมภาษณ์จากรุ่นพี่อย่าง ต้า-วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist ของ Facebook ให้สัมภาษณ์ไว้ใน TheMomentum มาฝากเพื่อให้น้องๆ นำไปประกอบการตัดสินใจ
" แม้ว่าสถาบันการศึกษาในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับวิชานี้หรือตั้งคณะสำหรับด้านนี้โดยตรง แต่สังคมเริ่มตระหนักถึงความสำคัญกันมากขึ้น หลายๆ บริษัทมีความพยายามจะจัดการข้อมูลภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานที่สุด และปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีบริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินการมากมายไม่ว่าธุรกิจกลุ่มไหนก็ต้องตื่นตัวเรื่องการใช้ข้อมูล เพื่อให้ก้าวทันและสร้างความได้เปรียบคู่แข่งในอุตสาหกรรม ทำให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะเป็นที่ต้องการในทุกบริษัท เพราะเป็นคนที่เข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร สามารถต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์และช่วยกำหนดทิศทางธุรกิจด้วยข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น "  


Big Data

 

Big Data (บิ๊ก ดาต้า)
    คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 
    ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

คุณลักษณะของ Big Data (4V)

    
  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 
    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ที่มีคุณลักษณะข้างต้นนี้ ในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเครื่องมือมารองรับและจัดการ หรือยังไม่เคยนำมารวมกันเพื่อตั้งโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ ค้นหาผลลัพธ์ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลและดูความสัมพันธ์กันด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้จริง (Information) และเกิดประโยชน์กับธุรกิจ เมื่อบริษัทมีข้อมูลที่พร้อมและมีประโยชน์ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

ฟอร์มของนภาพร

กำลังโหลด…